เงิน Ethereum คืออะไร?
เงิน Ethereum ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย มร.Vitalik Buterin ชาวรัสเซีย โดยเงิน อีเธอเรียม นั้นใช้เทคโนโลยีแบบ Blockchain มาเป็นพื้นฐานเช่นเดียวกันกับเงิน Bitcoin ปัจจุบันเงิน Ethereum เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่เป็นอันดับ 2 รองจากบิทคอยน์ และมีการคาดการว่าจะสูงกว่าบิทคอยน์ในอนาคต เนื่องจากนักวิเคราะห์มองว่าการลงทุนเงิน Ethereum นั้นจะมีค่าและเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่จะได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เงิน Ethereum เป็นบล็อกเชนที่เขียนโปรแกรมได้ไม่เหมือนกับเงินบิทคอยน์ที่เป็นบล็อกเชนได้แค่ในการรับและส่งบิทคอยน์เท่านั้น โดยเงินอีเธอเรียมนั้นสามารถให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างระบบของตัวเองได้ พูดง่าย ๆ ก็คือ เงินอีเธอเรียมเปรียบเสมือนเป็นซอฟต์แวร์ที่มีการเปิดรับให้คนมาใช้งานได้โดยทำงานผ่านเทคโนโลยีแบบBlockchain ทำให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถสร้างและส่งแอพพลิเคชั่นแบบกระจายศูนย์ขึ้นบนบล็อกเชนได้ ระบบที่ผู้ใช้งานสร้างขึ้นจะถูกคัดลอกและประมวลผลในคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องที่อยู่ในเครือข่าย ซึ่งอธิบายแบบสั้น ๆ ก็คือ เงิน Ethereum นั้นเปรียบเสมือนคอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ที่สามารถที่จะทำให้ทุกอย่างกระจาย (decentralize) และอาจจะถึงขั้นทำให้ระบบโมเดลของSERVERต้องเปลี่ยนโฉมมาตรฐานไปตลาดกาล เนื่องจากระบบ Server และ cloud ของเงินEthereum นั้นจะถูกแทนที่ด้วยระบบที่เรียกว่า NODE นับพัน โดย NODE เหล่านี้จะถูกติดตั้งและเปิดให้ทำงานจากทั่วโลก ด้วยวิสัยทัศน์นี้ทำให้เห็นว่า เงิน Ethereum สามารถที่จะทำให้ผู้คนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นใครที่ไหนบนโลกนี้ ต่างก็สามารถที่จะสร้างบริการและระบบดี ๆ ผ่านเงินอีเธอเรียมได้
SMART CONTRACT คืออะไร
Smart Contract คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กซึ่งถูกเก็บไว้ในรูปแบบของบล็อกเชนอีเธอเรียม ซึ่งตัวของSmart Contract นั้นสามารถใช้งานได้โดยใส่เหรียญอีเธอเรียมเข้าไป จากนั้นสมาร์ทคอนแทรคจะระบุกฎระเบียบระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายไว้ซึ่งตัวของSmart Contect จะทำหน้าที่ช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องของการแลกเปลี่ยนเอกสาร, หุ้นในบริษัท, เงิน, สินทรัพย์ และอื่น ๆ อีกมากมายที่มีมูลค่าในตัวของมันเอง โดยสมาร์ทคอนแทรคมีจุดประสงค์หลัก ๆ คือ การตรวจสอบ, ยืนยันหรือเซ็นสัญญาและข้อตกลงต่าง ๆ ผ่านทางระบบดิจิตอล ซึ่ง Smart Contractของ Ethereum นั้นจะแตกต่างจากสัญญาทั่ว ๆ ไปตรงที่สมาร์ทคอนแทรคสามารถดำเนินการหรือยืนยันข้อตกลงต่าง ๆ ได้อย่างอัตโนมัติโดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง เช่น ธนาคาร, รัฐบาลหรือตัวแทนต่าง ๆ ได้ แต่ถึงอย่างไรตัวบล็อคเชนของบิทคอยน์ก็สามารถสร้างสมาร์ทคอนแทรคได้ แต่ด้วยข้อเสียหลัก ๆ ของบิทคอยน์ก็คือโครงสร้างภาษาของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มันซับซ้อนกว่าจึงยากต่อการที่จะนำไปพัฒนาในระบบต่าง ๆ ได้ ทำให้บล็อกเชนของบิทคอยน์และEthereumนั้นมีความแตกต่าง ทำให้สมาร์ทคอนแทรคของบล็อคเชน อีเธอเรียม เป็นมิตรกับนักเขียนโปรแกรมมากกว่าเนื่องด้วยโครงสร้างของระบบที่สามารถทำงานได้โดยไม่ติดขัดเรื่องภาษาโปรแกรม
การทำงานของสมาร์ทคอนแทรค
Smart ContractของEthereum นั้นจะสร้างข้อตกลงขึ้นมา โดยจะเป็นข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายที่จะถูกเปลี่ยนเป็นรหัสคอมพิวเตอร์ จากนั้นการทำธุรกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะถูกบันทึกโดยอัตโนมัติในบล็อคเชนของอีเธอเรียม จากนั้นสมาร์ทคอนแทรคแต่ละอันจะมีหมายเลขที่อยู่เป็นของตัวเองและเมื่อไหร่ก็ตามที่Smart Contractถูกบันทึกในบล็อคเชนของอีเธอเรียม ใครที่มีที่อยู่ของตัวสมาร์ทคอนแทรคนั้น ๆ ก็จะสามารถเข้าถึงสมาร์ทคอนแทรคได้ ต่อด้วย Triggering Event ซึ่งสมาร์ทคอนแทรคของEthereumจะระบุถึงเหตุการณ์และจุดประสงค์พร้อมด้วยวันหมดอายุของสัญญาเพื่อให้ตัวสมาร์ทคอนแทรคสมารถทำงานได้ด้วยตัวเอง โดยจะพิจารณาจากข้อตกลงที่ถูกแปลงเป็นรหัส ซึ่งรหัสเหล่านี้จะระบุขั้นตอนต่าง ๆ โดยอาศัยหลักเหตุและผล ซึ่งผู้ใช้งานสามารถอธิบายหลักเหตุและผลได้ คำสั่งที่ถูกส่งออกมาก็จะให้ผลในรูปแบบรูปแบบหนึ่ง โดยสมาร์ทคอนแทรคก็จะทำงานไปเรื่อย ๆ จนกว่าทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจะยุติสัญญา สุดท้ายการยุติข้อตกลง เมื่อSmart Contract ถูกสร้างมาแล้ว ผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นที่จะบรรลุจุดประสงค์หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามที่ได้ตกลงกันไว้ตอนแรก แต่ถ้าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ทำตามที่ระบุไว้ในสัญญาภายในระยะเวลาที่ตกลงกันไว้บล็อกเชนก็จะทำการคืนเงินให้อีกฝ่ายหนึ่ง
ราคาEthereum
อีเธอเรียมเป็นสกุลเงินที่ไม่ได้มาจากธนาคารหรือได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาลโดยตรง ทำให้อัตราเงินเฟ้อหรือ นโยบายต่าง ๆ ทางด้านการเงินของรัฐไม่มีผลกระทบต่อราคา Ethereum ซึ่งทำให้นักเทรดและนักลงทุนต้องใช้การวิเคราะห์พื้นฐานเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ราคา Ethereum
ปัจจัยของราคาEthereum
ในอนาคตมีหลายปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อราคา อีเธอเรียม โดยปัจจัยหลัก ๆ ที่มีจะส่งผลต่อราคาของอีเธอเรียม คือ
อันดับแรกอุปสงค์และอุปทาน ซึ่งจะส่งผลต่อราคาอีเธอเรียมเป็นอันดับแรก เนื่องจากปัจจัยราคา Ethereum ขึ้นอยู่กับมูลค่าของตลาดผู้เล่น Ethereum ถ้ามีคนต้องการซื้ออีเธอเรียมมากขึ้น ราคา Ethereumก็จะสูงขึ้นแต่ถ้าหากมีคนต้องการจะขาย Ethereumมากขึ้น ราคา Ethereum ก็จะต่ำลง ปัจจัยต่อมาคือการแข่งขัน ในขณะที่บิทคอยน์ได้รับความนิยมอย่างมาก นักเทรดก็ยังสามารถเลือกลงทุนได้ในเหรียญอื่น ๆ อีกหลายร้อยสกุลเงินดิจิทัลทำให้มีการแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้น ด้วยการแข่งขันที่สูงขึ้นส่งผลทำให้ราคา Ethereum นั้นมีราคาที่พุ่งสูงขึ้นตามไปด้วย
Ethereum มีจำนวนจำกัดไหม?
จำนวนเหรียญที่ทางอีเธอเรียมปล่อยออกมาทุกปีนั้นจะเท่ากับจำนวนเหรียญที่หายไปหรือไม่ได้ใช้งาน ทำให้จำนวนเหรียญ Ethereum จะมีความสมดุล แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ในปี 2561-2562 อีเธอเรียมได้มีเปลี่ยนอัลกอริทึมจาก Proof of Work มาเป็น Proof of Stake โดยมีชื่อว่า Casper ซึ่งอัลกอริทึมนี้จะส่งผลต่ออัตราการออกเหรียญ
Proof of Work คืออะไร
Proof of work คือชุดคำสั่งหรือ Protocol ที่ถูกตั้งโดยกลุ่มนักพัฒนาของเงินดิจิทัลนั้น ๆ โดยจุดประสงค์หลัก ๆ ที่สร้างมันขึ้นมาก็เพื่อป้องกันการโจมตีแบบ DDoS (distributed denial–of–service attack) หรือการโจมตีที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องส่งเข้ามาเพื่อโจมตีServerเดียว โดยทำให้เครื่องServerนั้นทำงานหนักและล่ม โดยแนวคิดของการทำงานแบบ Proof of work ถูกคิดค้นขึ้นโดย มร.Cynthia Dwork และ มร.Moni Naor ในปี 2536 ในปัจจุบันนั้น Proof of work ถูกนำมาเป็นไอเดียใช้กับเงินบิทคอยน์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดย มร.Satoshi Nakamoto ในปี 2551 เนื่องจากมีการให้อนุญาต trustless และ distributed consensus
Trustless และ Distributed consensus คืออะไร
ระบบ trustless และ distributed consensus เป็นระบบที่สามารถส่งเงินได้แบบไม่จำเป็นต้องพึ่งพาธนาคารหรือบุคคลที่สาม ซึ่งปกติการส่งเงินนั้นจำเป็นต้องพึ่งพาระบบของธนาคาร หรือ Visa, Mastercard และ PayPal โดยจะทำการเก็บข้อมูลประวัติการทำธุรกรรมของลูกค้าไว้ในระบบ account ผู้ใช้งานต่าง ๆ
การนำ Proof of work มาใช้ในการขุดEthereum
Proof of work คือ หลักเกณฑ์ความต้องการที่ต้องใช้กำลังในการประมวลผลทางด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งพลังในการคำนวณหรือขุดเหล่านั้นจะต้องถูกนำมาใช้เพื่อสร้างและบันทึกธุรกรรมแบบ trustless ขึ้นมาบนเครือข่ายกระจายศูนย์ (distributed ledger) ที่เรียกว่า Blockchain
เป้าหมายของการขุดนั้นมีอยู่สองข้อ คือเพื่อใช้ตรวจสอบธุรกรรมที่เกิดขึ้นใหม่หรือใช้เพื่อป้องกันการขี้โกงจากผู้จ่ายเงินเช่นการ “จ่ายสองครั้ง” เพื่อสร้างEthereum โดยการให้รางวัลนักขุดที่ทำงานเมื่อคุณทำธุรกรรม สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นบนระบบเบื้องหลังธุรกรรมจะถูกนำมามัดรวมกันไว้และเก็บในตัวเก็บข้อมูลที่เรียกว่าบล็อก นักขุด Ehtereum หลาย ๆ คนจะทำการตรวจสอบบล็อกนั้น ๆ ว่าเป็นของจริงหรือไม่ การที่จะทำเช่นนั้น นักขุดEthereumจะต้องแก้ไขสมการทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่าปัญหาของ proof of work โดยผู้ที่สามารถแก้ไขโจทย์ได้จะรางวัลที่จะมอบให้กับนักขุดคนแรกที่ทำการไขสมการและปิดบล็อกนั้นได้สำเร็จบล็อกเก็บธุรกรรมที่ถูกตรวจสอบและปิดแล้วจะถูกเก็บไว้ในรูปแบบ Blockchain
โดยสมการทางคณิตศาสตร์ดังกล่าวนี้ฟีเจอร์ก็คือความไม่สมดุลของมัน หรือหากจะอธิบายแบบง่าย ๆ ก็คือจะต้องทำให้มันทำให้แก้ไขได้ยาก แต่ก็ยังต้องถูกตรวจสอบได้ง่ายบนเครือข่ายอยู่ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนั้นยังมีชื่ออื่น ๆ ที่เรียกแตกต่างกันไปเช่น CPU cost function, client puzzle, computational puzzle หรือ CPU pricing function ซึ่งนักขุดจะต้องแข่งกันเพื่อที่จะเป็นที่หนึ่งในการแก้ไขสมการทางคณิตศาสตร์ที่ไม่มีวันที่จะแก้ไขได้โดยวิธีอื่น ๆ นอกจากการ brute force ดังนั้นจึงทำให้มันมีความนานและยากพอสมควรในการขุดเมื่อนักขุดทำการแก้ไขสมการสำเร็จ จะมีการประกาศบนเครือข่ายว่ามีนักขุดได้ค้นพบรางวัล (cryptocurrency prize) ที่ protocol ทำไว้ โดยในมุมมองในทางด้านเทคนิคนั้นการขุดเหรียญEthereumคือขั้นตอนอย่างหนึ่งในการ inverse hashing โดยมันจะทำการกำหนดตัวเลข (nonce) ขึ้นมาเพื่อให้ระดับข้อมูลของบล็อกนั้นลดน้อยลงกว่าขั้นที่กำหนดไว้ซึ่งขั้นที่กำหนดนั้น ซึ่งถูกเรียกว่า difficulty ที่ใช้เป็นตัวกำหนดความท้าทายในการขุด ซึ่งหมายความว่าหากมีผู้ที่มีพลังในการขุดมากกระโดดเข้ามาในเครือข่าย จะทำให้ค่า difficulty ดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้น โดยค่านี้จะถูกคำนวณมาอย่างพอดีว่าจะทำให้บล็อกที่จะถูกปิดลงและขึ้นบล็อกใหม่นั้นใช้เวลานานเท่าไร ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวนี้จะผลักดันให้ต้นทุนต่อการสร้างบล็อกใหม่สูงขึ้นด้วย เป็นการบังคับให้นักขุดต้องทำการอัพเกรดอุปกรณ์ในการขุดของพวกเขาเพื่อสมดุลของเศรษฐกิจองค์รวม การอัพเดตค่า difficulty นั้นจะเกิดขึ้นโดยเฉลี่ยที่ทุกๆ 14 วัน และการตั้งค่าความยากเพื่อให้สร้างบล็อกใหม่นั้นจะถูกคำนวณไว้ให้เกิดบล็อกใหม่ที่ทุก ๆ 10 นาที
Proof of work ไม่ได้ถูกใช้งานบน blockchain ของ Bitcoin เท่านั้น แต่ยังถูกใช้ในเงิน Ethereum ด้วยเช่นกัน อีกทั้งยังถูกแบ่งแยกย่อยไปอีกหลาย ๆ แบบ และมีฟังก์ชันที่แตกต่างกัน เนื่องจากมันต้องถูกนำมาปรับใช้กับ Blockchain ของคนละตัว แต่ทางเราคงต้องขอหยุดไว้เพียงเท่านี้เนื่องจากมันเยอะ และอาจสร้างความงงให้กับผู้อ่านได้ สิ่งสำคัญก็คือตอนนี้นักพัฒนา Ethereum นั้นต้องการที่จะเปลี่ยนไปใช้ระบบ consensus ใหม่ที่เรียกว่า proof of stake
Proof of stake คืออะไร
Proof of stake นั้นคืออีกหนึ่งวิธีที่แตกต่างที่ใช้ในการตรวจสอบธุรกรรมมันก็ยังคงเป็นอีกหนึ่งอัลกอริทึ่มอีกตัว และจุดมุ่งหมายนั้นก็ยังคงเหมือนกับ proof of work แต่ขั้นตอนในการที่จะไปให้ถึงเป้าหมายนั้นแตกต่าง
แนวคิดของ proof of stake เกิดขึ้นมาในงาน Bitcointalk forum เมื่อปี 2554 แต่เหรียญตัวแรกที่ใช้อัลกอริทึมตัวนี้มีนามว่า Peercoin ซึ่งเริ่มใช้เมื่อปี 2556 โดยหลังจากนั้นก็มีอัลกอริทึมออกมาอีกไม่ว่าจะเป็น ShaodowCash, Nxt, BlackCoin, NuShares/NuBits, Qora และ Nav Coin
Proof of Stake ต่างจาก Proof of work ยังไง
สิ่งที่ทำให้มันแตกต่างจาก Proof of work ที่โดยปกติแล้วรางวัลจะถูกมอบให้ผ่านการขุดหรือการแก้ไขสมการเพื่อการยืนยันตรวจสอบธุรกรรมและสร้างบล็อกใหม่นั้น ใน Proof of stake การสร้างบล็อกใหม่จะถูกกำหนดโดย “ความรวย” ของผู้ถือเหรียญ หรือจะเรียกอีกอย่างว่าการ stake ก็ได้ไม่มี Block reward ใน proof of stakeความแตกต่างอีกข้อก็คือเหรียญที่ใช้อัลกอริทึมแบบ proof of stake นั้นจะถูกสร้างมาทั้งหมดตั้งแต่เริ่มต้น และจำนวนของมันจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลงเด็ดขาดนั่นหมายความว่าในระบบของ PoS นั้น มันจะไม่มีรางวัลในการสร้างบล็อกใหม่ ดังนั้นผู้ถือ stake จะได้รับค่าธรรมเนียมแทน ซึ่งไม่ต่างจากการขุดนั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำไมในระบบ PoS นั้น นักขุดจึงถูกเรียกว่านักตีเหล็กแทน
ทำไม Ethereum ถึงใช้ PoS(Proof of Stake)
กลุ่มนักพัฒนา Ethereum กำลังวางแผนทำ hard fork เพื่อให้ระบบบล็อกเชน Ethereum นั้นเปลี่ยนจากระบบ proof of work มาเป็น proof of stake การเปลี่ยนอัลกอริทึ่มจาก proof of work ที่มีการหา distributed consensus มาเป็น Proof of Stakeนั้นเป็นเพราะนักขุดจะต้องใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมาก โดยอ้างอิงจากการสร้าง Bitcoin ขึ้นมา 1 BTC ที่ต้องใช้พลังไฟฟ้ามากและต้นทุนค่าไฟเหล่านี้ถูกจ่ายด้วยเงินสด ซึ่งนั่นอาจทำให้เกิดปัญหาด้านมูลค่าเศรษฐกิจของ Ethereum ในระยะยาวได้จึงทำให้กลุ่มนักพัฒนาของ Ethereum ต้องการที่จะนำเอา proof of stake มาปรับใช้โดยหวังเพื่อลดการใช้พลังงานและทำลายทรัพยากรธรรมชาติ